องค์กรพัฒนาชนบท Rural Development Organization

13162386_1633321346993904_515698573_n

คติธรรม สดุดี 133:1

“ดู‍เถิด ซึ่ง​พี่‍น้อง​อา‌ศัย​อยู่​ด้วย​กัน​เป็น​น้ำ‍หนึ่ง​ใจ​เดียว​กัน

ก็​เป็น​การ‍ดี และ​น่า​ชื่น‍ใจ​มาก​สัก​เท่า‍ใด”

ประวัติที่มา

องค์กรพัฒนาชนบทกะเหรี่ยงแบ็บติสท์ เริ่มตั้งแต่ในปี ค.ศ. 1962 โดยคณะคริสตจักรกะเหรี่ยงแบ็บติสท์ จุดประสงค์เพื่อการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพแก่เกษตกรพื่นที่สูง การดำเนินงานในระยะแรก ได้จัดตั้งศูนย์กลางชูชีพชาวขาวผู้เข้าหลักศูนย์ฝึกอบรมที่จบหลักสูตรจำนวนหนึ่ง ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าหน้าที่ส่งเสริมด้านการพัฒนาในพื้นที่ต่างๆ โดยมีการจัดตั้งศูนย์สาธิตการเกษตรตามเขตพื้นที่พร้อมทั้งส่งเสริมให้เกษตรปลูกไม้ผลและในปี ค.ศ.1972 ได้ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์เช่น วัว แพะ แกะ สุกร และการทำบ่อเลี้ยงปลา และส่งเสริมงานด้านปศุสัตว์ต่อและส่งเสริมการจัดตั้งสหการร้านค้าชุมชน พร้อมทั้งเงินกู้กองทุนเพื่อซ้อเครื่องมือการเกษตรเป็นต้น

วัตถุประสงค์

  1. ขยายกิจกรรมพัฒนาไปยังชนบทห่างไกลหรือหมู่บ้าน
  2. ส่งเสริมการพึ่งตนเองและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  3. ส่งเสริมการพึ่งพาตนเองและมีเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชน
  4. ส่งเสริมการพึ่งพากันและกัน ตลอดจนเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมแก่ชมชน
  5. ส่งเสริมและทะนุบำรุง ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี และสภาพแวดล้อม

 

วิสัยทัศน์ –Vision

เป็นองค์กรพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วม สร้างสรรค์เศรษฐกิจพอเพียงและพัฒนาคุณภาพชีวิต คุณธรรม จริยธรรมแก่ชุมชนให้อยู่ดีมีสุข

 ภารกิจ – Mission

สนับสนุนการร่วมทุน สร้างสหการร้านค้าชุมชน ส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงแบบยั่งยืนและจัดหาอุปกรณ์ ทางการเกษตร ส่งเสริมการเกื้อกูลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตลอดจนเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมของสมาชิกในชุมชน

 ยุทธศาสตร์

  1. ปรับปรุงและขยายจำนวนสหการค้า
  2. สร้างเครือข่ายสหการร้านค้าและอุปกรณ์การเกษตร
  3. ส่งเสริมการพึ่งพาตนเอง
  4. ระดมทุนดำเนินการ
  5. พัฒนากลุ่มเลี้ยงเลี้ยงสัตว์แบบยั่งยืน
  6. พัฒนาบุคลากร
  7. พัฒนาคุณธรรม จริยธรรมบนรากฐานความเชื่อ คริสต์ชน

 

เป้าหมาย

องค์กรพัฒนาชนบทกะเหรี่ยงแบ็บติสท์ ได้ทำงานร่วมกับชุมชน,หมู่บ้าน ในเขตจังหวัดภาคเหนือตอนบน กลุ่มเป้าหมาย คือ ครอบครัวผู้ยากไร้ เกษตรการชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยงบนพื้นที่สูง

 

กิจกรรม

  1. ด้านสัตย์เลี้ยง

องค์กรพัฒนาชนบท ได้ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ชนิดต่างๆ ในชุมชนตามความต้องการและเหมาะสมกับพื้นที่ อาทิ ,โค,สุกรและ อื่นๆ เพื่อเป็นแหล่งรายได้และแหล่งรายได้และแหล่งโภชนาอาหาร

  1. อุปกรณ์ทางและเครื่องมือทางการเกษตร เช่น รถโม่,รถไถนา,โรงสีข้าว และอื่นๆ ตามความต้องการและความเหมาะสมของเกษตรกร
  2. สหการร้านค้าชุมชน

องค์กรพัฒนาชนบท ได้คำนึงถึงความต้องการเครื่องอุปโภคของชุมชนบน พื้นที่สูง ใช้อุปโภคบริโภคครัวเรือน ดังนั้นองค์กรฯ ได้จัดให้มีสหการร้านค้าเพื่อชุมชน โดยมีประสงค์เพื่อให้ชุมชนได้มีโอกาสทำงานร่วมกันและกันพร้อมทั้งนำผลิตภัณฑ์และผลิตผลในครัวเรือนมาจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน

  1. การฝึกอบรม

องค์กรพัฒนาฯได้เปิดโอกาสให้แก่เกษตรผู้นำโครงการ,คณะกรรมการ,ผู้นำโครงการ,คณะกรรมการและสมาชิกในชุมชนได้รับการฝึกอบรมในหลายเรื่องเช่น บทบาทหน้าที่ในการทำงานร่วมกัน,บัญชีเบื้องต้น,การสัตว์บาลการดูแลรักษาสัตว์เบื้องต้นหลักการและเทคนิคระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาเป็นต้น

  1. กองทุนเงินกู้หมุนเวียน

องค์กรพัฒนาชนบท ได้จัดเตรียมกองทุนซึ่งเรียกว่า เงินทุนหมุนเวียนให้แก่เกษตรกร เพื่อใช้ลงทุนในการทำเกษตรกรรมและเป็นปัจจัยผลิต อาทิ เมล็ดพันธ์,เครื่องมือเครื่องใช้ทางการเกษตร ให้เกษตรกรมีโอกาสลงทุนธระกิจภายในครัวเรือน เพื่อที่เกษตรกรพึ่งพาตัวเองได้

  1. ศูนย์ขยายพันธ์สัตว์

องค์กรพัฒนาชนบทได้จัดศูนย์ขยายพันธ์สัตว์ ขึ้น 1แห่งโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อแก้ไขปัญหาอันเนื่องจากชุมชนในโครงการหลายแห่งได้ประสบปัญหาขาดแคลนพันธ์สัตว์ที่มีคุณภาพ

ดังนั้นเพื่อให้เกษตรกรมีสัตว์เลี้ยงที่ดีและมีคุณภาพทางศูนย์จะจัดส่งพันธ์สัตว์เลี้ยงตามความต้องการและให้เหมาะสมกับพื้นที่ของเกษตรกรพร้อมทั้งเป็นศูนย์สาธิตการเลี้ยงสัตว์ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียง

รูปภาพกิจกรรม

เพลงมาร์ท พชบ. (Song)